วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความสามารถ ต้องไม่ขาดจริยธรรม


ความสามารถในการทำงาน ต้องมีความจริยธรรมกำกับด้วย
โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะมากๆ

จริยธรรม หมายถึง ระดับการรับรู้และเข้าใจ รู้จักรับผิดชอบชั่วดีแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ผิดออกจากกัน
 จะเลือกประพฤติตนให้สอดคล้องกับความถูกต้องด้วยความตั้งใจและเจตนาที่ดีงามในทุกสถานการณ์ 
รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เคารพให้เกียรติและมีความยุติธรรม ให้สอดคล้องกับความดีงาม

 ความฉลาดทางจริยธรรมเป็นเรื่องที่ต้องฝึกมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเด็กได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เด็ก 
บุคคลนั้นก็สามารถพัฒนาพื้นฐานความฉลาดทางจริยธรรมของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง
 (มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง)และความฉลาดทางจริยธรรมนี้ก็จะปลูกฝังลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น
และจะรอเวลากระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม 

ฟังมาก กำไรกว่าพูดมาก

ไม่ว่าจะการเรียน หรือการทำงาน
ฟัง คิด ถาม เขียน ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ
โดยเฉพาะการฟัง และการคิด เป็นต้นทางแห่งการเรียนรู้
ยิ่งใครให้ความสำคัญกับสองอย่างนี้มาก
อาจได้ประโยชน์มากกว่าคนที่จ้องจะพูดโดยไม่ถาม
 หรือถามโดยไม่ตั้งใจฟัง


ความเชื่อมั่น อีกกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

เมื่อคิดดีแล้ว  ต้องกล้าลงมือทำดีด้วย
เพราะไม่ว่าจะมีฝันที่ยิ่งใหญ่ หรือมีเรื่องเล็กน้อยแค่ไหน
ถ้าขาดความเชื่อมั่น  ความตั้งใจ  
ก็สามารถล้มเหลวได้ไม่ต่างกันนัก



วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนรู้จากความผิดพลาด


ข้อคิดดีๆจาก ดร. เทียม โชควัฒนา
ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ฝ่าฟันจากเสื่อผืนหมอนใบ
จนยิ่งใหญ่ยั่งยืนมาถึงทุกวันนี้
ก็เพราะท่านรู้จักวิเคราะห์ข้อคิดบทเรียนจากการกระทำ
นำมาเป็นหลักสูตรสอนตัวเอง ได้อย่างเหนือกว่าบทเรียนเอ็มบีเอใดๆ

ความรู้ ความเก่ง ความดี ต้องมีความกล้าด้วย


ความรู้  ความเก่ง ความดี
อาจไม่มีความหมาย  ถ้าขาดความกล้า
กล้าทำในสิ่งที่ดี  สิ่งที่ถูกต้อง และไม่เบียดเบียนใคร

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนรู้ตลอดชีวิต อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มถ้วย



จงเป็นน้ำครึ่งถ้วยตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด

น้ำครึ่งถ้วยเติมได้ตลอด 
แต่น้ำที่เต็มถ้วยใส่อะไรเข้าไปไม่ได้ 

หากไม่ยอมรับความรู้ใหม่ๆเสียแล้ว 
มีแค่ไหนก็จะมีแค่นั้นตลอดไป

จงเรียนรู้ให้มาก อย่าคิดว่ารู้แล้ว 
เพราะเมื่อรู้แล้วก็เต็มแล้วใส่อะไรก็ไม่ได้
แล้วก็ปรับตัวรับสภาพใหม่ๆ หรือจะเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไรกัน ?

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ศูนย์คุณธรรมรับมอบดัชนีชี้วัดความซื่อตรง

ศูนย์คุณธรรม รับมอบดัชนีชี้วัดความซื่อตรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



(เมื่อ 6 กันยายน 2557)  ดร.ฉวีรัตน์  เกษตรสุนทร  ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์คุณธรรม และผู้แทนสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน  เข้าร่วมรับฟังการประชุมสรุปผลการดำเนินงานภาพรวม โครงการ “การพัฒนาดัชนีชี้วัดความซื่อตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อยกระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”พ.ศ. 2557(ภาคเหนือตอนบน) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์  สมยานะ  (ผู้อำนวยการกิจวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) พร้อมคณะนักวิจัย  ณ ห้องนพเก้า ชั้น 3โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่


  ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบศูนย์การเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู เยาวชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการต่างๆร่วมกับกิจวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวนกว่า150 คน


ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ได้บรรยายพิเศษให้แก่ผู้เข้าร่วมงานโดยกล่าวถึงบทบาทภารกิจการทำงานและแนวทางการสันบสนุนการดำเนินโครงการ “การพัฒนาดัชนีชี้วัดความซื่อตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อยกระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”พ.ศ. 2557(ภาคเหนือตอนบน) และการนำตัวชี้วัดที่ได้จากการดำเนินงานไปขยายผลในอนาคต


 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติให้เป็นประธานมอบเกียรติบัตรแก่ โรงเรียนต้นแบบที่นำเสนอนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ธุรกิจชุมชนเชิงคุณธรรม จำนวน 8 โรงเรียน  ศูนย์การเรียนรู้ 4 แห่ง และมอบเกียรติบัตรให้กับผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ“การพัฒนาดัชนีชี้วัดความซื่อตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อยกระดับความอยู่ดีมีสุขของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”พ.ศ. 2557  จำนวน 5 แห่ง  เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมต่อไปอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ไม่มีสิ่งใดเล็กเกินไป ตั้งใจทำให้ดี

ไม่มีสิ่งไหนเล็กเกินไป  ถ้าเราจะตั้งใจทำให้ดี
ทุกสิ่งทุกเรื่องสร้างคุณค่าดีๆ
ที่ยิ่งใหญ่ได้เสมอ


บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ไม่ว่าความใฝ่ฝัน  ความคาดหวัง หรือแม้แต่คำอธิษฐานสิ่งใด
ก็แทบจะไร้ประโยชน์ ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือกระทำ
และพยายามแก้ไข  ไม่ทำซ้ำความผิดพลาด ไม่ล้มเลิกกลางแผนกลางคัน
หรือเรียกง่ายๆว่าต้องมี ความเพียร อย่างสร้างสรรค์ นั่นเอง


วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เพ่งดูตัวเอง เพื่อความสุขที่แท้จริง

สติ และการเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง
นำมาซึ่งการเท่าทันตัวเอง
ทำให้มีความสุขจากความสงบ
และป้องกันการที่จะเผลอทำความผิด ทำพลาด
จากอารมณ์ชั่ววูบ ขาดสติ
จนทำให้ทั้งชีวิตเสียหายจากการกระทำแค่ไม่กี่วินาทีได้



ความสำเร็จที่แท้จริง

ความสำเร็จแบบไหนที่คุณต้องการ ?


สวยหรูแค่ภายนอก  แต่ไร้รากฐาน  ไม่มีความยั่งยืน แบบต้นขวา

หรือว่ารากฐานแข็งแรงแบบต้นซ้าย  แม้จะโตช้าหน่อย 
 แต่จะมั่นคง ยั่งยืน และระยะยาวโตได้แซงต้นขวาได้เลย

ไม่ว่าการทำงาน หรือการใช้ชีวิตนั้น
ความมั่นคง มีรากฐานที่แข็งแรง บนความเป็นจริง
เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าภาพลักษณ์ภายนอก หรือชื่อเสียงหน้าตา

ภาพบทเรียนแห่งความพยายาม

ภาพนี้สอนให้รู้ว่า ...


หากสำรวจ วิเคราะห์ และวางแผนมาดีแล้ว
ต้องลงมือทำ และพยายามไปให้ถึงที่สุดตามแผน
เพราะการยอมแพ้กลางคัน ณ จุดนั้น
อาจจะเหลืออีกเพียงนิ้วเดียวก็ถึงเป้าหมาย ก็เป็นได้

เมื่อทำผิด เดินพลาด ...


เมื่อทำผิดพลาด  ให้คิดถึงอนาคตต่อไป
 ว่าจะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก
 ว่าเราได้ฉลาดขึ้นอย่างไรบ้าง
 ... ไม่ใช่คิดซ้ำเติมตำหนิตัวเอง วนเวียนไปมา
 หรือคิดว่า "ถ้ารู้งี้..." เพราะเราไม่มีทางย้อนหลับไปทำใหม่ได้
  สู้คิดเป้นบทเรียนเพื่ออนาคตต่อๆไปจะดีกว่า

ข้อคิดดีๆรับวันหยุดยาว


ข้อคิดดีๆรับวันหยุดยาว ...
แม้จะกำลังรื่นเริง ไม่ท้อ ไม่เหงา
แต่ก็ต้องแบ่งเวลาให้คุณแม่คุณพ่อ
ไม่ใช่รอแค่วันหยุดยาวกันนะ

พ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใคร


ถึงจะเป็นช่วงหยุดยาวรับวันแม่ วันพ่อ
  แต่คุณแม่และคุณพ่อหลายคนก็ยังต้องทำงาน
  ...  เพื่อใครหนอ ?

อย่าทุกข์เพราะคนอื่นมากไป



พ่อแม่พยายามและเหนื่อยล้ามามากมาย
เพราะอยากให้เรามีความสุข
ฉะนั้นเมื่อคนอื่นทำให้เรามีความทุกข์
เราต้องลุกมาตั้งสติใหม่ ว่าคนนั้น เรื่องนั้น สำคัญแค่ไหน
ทำใจให้มีสติ  มีความสงบสุข เพื่อพ่อแม่ของเรากันดีกว่า

เตือนสติ อย่างสันติ



เมื่อเราเห็นใครกำลังทำพลาด เดินผิด
หลายๆคนใช้วิธีตำหนิแรงๆ หรือดุด่าว่ากล่าวกัน

แต่ที่จริงแล้ว การเตือนสตินั้น ไม่ต้องใช้วิธีที่รุนแรงก็ได้
เพราะสำหรับหลายๆคนถ้าโดนเราทำร้ายจิตใจ  อาจไม่อยากรับฟังอะไรจากเราอีกต่อไป

ลองพิจารณาไปใช้เป็นอีกข้อคิดดีๆที่ใช้ได้กับทั้งที่ทำงาน และครอบครัวกันนะครับ

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ร่างข้อเสนอ แผนการฟื้นฟูคุณธรรมของสังคมไทย ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเมือง




การทุจริตคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม  เป็น 3 อย่าง 3 คำที่ฉุดรั้งสังคมไทยเรามานานแสนนาน  และมีส่วนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงหลายปีนี้ด้วย

ถ้าจะไล่เรียงหาต้นตอของแต่ละปัญหาอย่างละเอียดอาจจะยากเกินไป  แต่กุญแจดอกสำคัญที่อาจแก้ไขได้ทั้งสามสิ่งพร้อมกันเลยคือ  “คุณธรรม จริยธรรม”   ซึ่งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ตระหนักและได้ร่างแนวทางที่จะเตรียมแผนการฟื้นฟู  บำบัด  เยียวยาสังคมไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้

ขั้นแรกที่สำคัญก่อนจะลงมือ  คือการสำรวจปัญหา(ความแตกแยก/ความเหลื่อมล้ำ/ฯลฯ) ของชุมชนในระดับตำบล  จากนั้นก็ทำแผนชุมชนเพื่อบำบัด เยี่ยวยาและฟื้นฟู พัฒนาเป็นรายตำบล

เมื่อมีแผนแล้ว ก็สร้างบุคลากรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นการเฉพาะ(เพื่อฟื้นฟู/บำบัดเยียวยา)และสนับสนุนบทบาทการทำงาน  ให้เป็นกลไกการประสานงานสนับสนุนระดับต่างๆทุกจังหวัด  โดยต้องมีสื่อเพื่อการฟื้นฟูเยียวยาไปพร้อมกันด้วย

นอกจากนี้สนับสนุนกลไกการปฏิรูปอื่นๆที่เกี่ยวข้องไปด้วยกัน

 ...

(โปรดติดตามอ่านรายละเอียด "วิธีการสำรวจปัญหา"  ในตอนต่อไป )

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความอดทน คืออาวุธลับของความสำเร็จ


หลายครั้งที่อ่านหนังสือ หรือฟังผู้ประสบความสำเร็จด้านต่างๆ
มาเล่าประสบการณ์ วิธีการ และอุปสรรคต่างๆที่ผ่านมาได้
ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักกีฬา คนทำงานด้านต่างๆ หรือคนที่อุทิศตัวช่วยสังคม

เรามักจะสนใจวิธีคิด เทคนิคการทำงาน การบริหาร หรือความรู้เฉพาะทาง
จนลืมไปว่ามีอีกอาวุธลับสำคัญมากที่หลายๆคนลืมเล่า
คือ ... "ความอดทน"

หากไม่มีความอดทนแล้ว หลายๆครั้งสิ่งอื่นๆก็เปล่าประโยชน์
เพราะเราไม่สามารถอดทนต่ออุปสรรค
ทนไม่ไหวที่จะผลสำเร็จยังมาไม่ถึงสักที
จนละทิ้งไปกลางคันเสียก่อน ไม่ทำตามแผนที่วางไว้นั่นเอง




วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทะเลาะกับใครก็หาใหม่ได้ แต่ทะเลาะกับพ่อแม่ ...


ทะเลาะกับเพื่อน  ก็หาเพื่อนใหม่ได้
ทะเลาะกับแฟน   ก็หาแฟนใหม่ได้
ทะเลาะกับเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ก็หางานใหม่ได้

... แต่ถ้าทะเลาะกับพ่อแม่  หาใหม่ไม่มีแล้ว

หลายคนลืมเรื่องนี้ไป  ทำให้ยังติดชอบเถียง ชอบบึ้งกับพ่อแม่อยู่

ลองคิดกันดูให้ดีนะ ว่าจะเถียง  จะบึ้งตึงทะเลาะกับพ่อแม่ไป คุ้มหรือเปล่า ?

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

"ทฤษฎีสังคมกระจกเงา” (Social Mirror Theory)


      นักวิชาการได้อธิบายถึงทฤษฏีพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีสังคมกระจกเงา (Social Mirror Theory)   จากแนวคิดของ Wilhelm Ditthey (1883-1911)  ที่กล่าวว่า "คนเราสามารถเรียนรู้เพื่อรับรู้ความคิดและความรู้สึกของตนเอง ได้จากการอยู่ในโลกแห่งความคิดและความรู้สึกของสังคม
          
              จากปรัชญานี้ได้มีการศึกษาต่อโดยนักจิตวิทยาสังคมและนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี ๒๕๓๙ นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพาร์ม่าประเทศอิตาลี ประกอบด้วย Dr.Vittorio Gallese, Dr.Leonardo Fogassi และ Dr.Giacomo Rizzolatti เป็นผู้เปิดประตูนำไปสู่การไขความลับนี้  พบว่า ภายใน สมองของคนเรามีเซลล์ชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาตั้งชื่อว่า เซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron) โดยอธิบายว่า เซลล์กระจกเงา เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งในสมองของมนุษย์ซึ่งทำหน้าที่ เลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ของผู้อื่นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง
               การค้นพบของนักวิชาการครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดการค้นคว้าวิจัยบทบาทและหน้าที่ ของเซลล์ชนิดนี้อย่างกว้างขวาง ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การศึกษา จิตวิทยา และสังคมวิทยา ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองของมนุษย์อย่างมากมาย อาทิเช่น พฤติกรรมของเด็กและเยาวชน เป็นผลมาจากเซลล์กระจกเงาไปลอกเลียน แบบพฤติกรรมตัวอย่างที่ได้พบเห็นในสังคม และพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กเล็กๆ เป็นผลมาจากการทำงานของเซลล์กระจกเงา ทำให้เด็กสามารถเข้าใจเจตนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำพูดของผู้พูดได้ การเข้าใจจิตใจผู้อื่นได้ดีเป็นผลมาจากการที่เซลล์กระจกเงาทำหน้าที่         อ่านใจ (Mind Reading) บุคคลผู้นั้น เป็นต้น
               จากแนวคิดของทฤษฎีกระจกเงานี้ นักวิชาการในวงการศึกษาได้เสนอให้ นำมาใช้ ในการพัฒนาเด็กไทย โดยเฉพาะพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กที่เกิดขึ้น จากการทำงานของเซลล์กระจกเงาในตัวเด็กเอง ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในสังคม มีทักษะในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกๆ โดยไม่ใช่ เพียงแค่การใช้ "คำพูดในการสั่งสอนลูกเท่านั้น เซลล์กระจกเงาจะทำงานได้ดีเมื่อลูกเห็นพฤติกรรมของพ่อแม่ และสามารถสะท้อนสิ่งที่ดีแล้วซึมซับเข้าไปเป็นลักษณะนิสัยของตัวเด็กเอง
           ประโยชน์ของทฤษฎีนี้ ทำให้สังคมรู้ว่าแบบอย่างที่ดีจากพ่อแม่ คือ สิ่งสำคัญที่สุด ในการพัฒนาลักษณะนิสัยและสภาวะคุณธรรมในตัวเด็กตั้งแต่เยาว์วัย อีกทั้งแนวคิดนี้สามารถเชื่อมโยงต่อไปยังทฤษฎีการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) ที่บอกว่า การรับรู้เพื่อสร้างค่านิยม ทัศนคติของบุคคล เกิดจากการเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องผ่านสื่อกลางของสังคม ๖ กลุ่ม คือ สถาบันครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา ชุมชน กลุ่มเพื่อน และสื่อมวลชน ซึ่งมีกระบวนทัศน์เดียวกัน
           ดังนั้น การสร้างสังคมคุณธรรมให้เกิดขึ้น จำเป็นต้องสร้างกระบวนทัศน์ของสื่อกลางทั้ง ๖ กลุ่มให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดบรรทัดฐานของสังคม (Norms) ที่ทุกคนยอมรับและยึดถือประพฤติปฏิบัติ พร้อมกับรณรงค์ให้คนในสังคม ตั้งแต่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ นักบวชผู้สอนศาสนาชนชั้นนำของสังคม (Elite) เพื่อนร่วมสังคม และสื่อมวลชน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ คนในสังคมโดยประพฤติตามบรรทัดฐานเหล่านั้น เพื่อให้สิ่งที่ดีงามซึมซับเข้าสู่สมองผ่านประสาทสัมผัสทั้งหก คือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้าสู่เซลล์กระจกเงาของเด็กและเยาวชนและยึดถือเป็นลักษณะนิสัยที่ถาวรยั่งยืน
          อย่างไรก็ดี การเป็นแบบอย่างต่อสังคมนั้น เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้านทั้งดี และไม่ดี จึงสมควรทีผู้ใหญ่ต้องระมัดระวัง ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดีซึ่งจะทำให้เด็กจดจำ นำไป ปฏิบัติ จนเกิดค่านิยมในทางที่ผิด เช่น โกงก็ได้ถ้าทำให้ประเทศเจริญ เป็นต้น บางพฤติกรรมเป็นสิ่งที่พลั้งเผลอได้ง่าย คือ การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ เช่น ไอ้ อี มัน ฯลฯ ซึ่งชนชั้นนำเผลอพูด จนกลายเป็นภาษานิยมใช้กันได้แม้กระทั่งในรัฐสภา หรือบาง ครั้งใช้คำที่มีสองความหมาย เช่น เอาอยู่ ซึ่งเมื่อสื่อนำไปเผยแพร่ต่อในลักษณะล้อเลียน ทำให้เด็กและเยาวชนยุคหลังๆ ไม่ทราบว่า คำเหล่านี้เป็นคำที่ไม่สุภาพ เพราะผู้ใหญ่ใช้กันจนคุ้นชิน และเผยแพร่ทางสื่อมวลชนจนเห็นว่า เป็นเรื่อง "ธรรมดา
          เรื่องนี้คงต้องฝาก ทั้งผู้พูดต้องระมัดระวังมากขึ้น และสื่อมวลชนต้องช่วยกันกลั่นกรองไม่เผยแพร่ต่อ นอกจากนั้น อากัปกิริยาการพูดที่มีลีลาแสดงอารมณ์รุนแรงซึ่งเรียกว่า "มีสีสันโดยเฉพาะในรัฐสภาที่มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ บางครั้งก่อให้เกิดอารมณ์โกรธ ทั้งผู้พูดกับผู้ได้รับผลกระทบจากคำพูด จนกลายเป็น "วิวาทะแสดงพฤติกรรมที่ไม่งดงามอัน เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้กับเด็กและเยาวชนจดจำ นำไปใช้ รวมถึง ละครสะท้อนสังคมที่เรียกว่า ละครน้ำเน่าซึ่งแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ก็ทำให้เด็กเลียนแบบในสิ่งไม่ดี ลักษณะนิสัยบางอย่างที่ลูกซึมซับจากพ่อแม่ได้ง่ายที่สุด คือ อบายมุข จะสังเกตได้ว่า ถ้าพ่อดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ลูกก็จะคุ้นชินว่าเป็นเรื่องธรรมดา หรือพ่อแม่เล่นการพนัน ลูกก็ จะคุ้นชินและรับมรดกนักพนันมาด้วย
           นอกจากนั้น เมื่อโลกปัจจุบันหมุนมาสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ เข้าสู่ประสาททั้ง ๖ ของมนุษย์ได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรมข้ามชาติ มากมาย ทำให้มีการเลียนแบบ จนทำให้พฤติกรรมอันดีงามของสังคมไทยที่มีมาตั้งแต่ในอดีตได้ถูกทำลายไปมาก เช่น ความเมตตา การให้อภัยกัน ความเกรงใจไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น อัธยาศัยไมตรีอันดีงาม ความสุภาพอ่อนน้อม และมารยาทตามสมบัติผู้ดี จึงมีความจำเป็นที่สังคมต้องสร้างภูมิต้านทานให้กับเด็กซึ่งมีวุฒิภาวะทางสังคมที่อ่อนด้อย มากขึ้น
            เมื่อพูดถึงหนังสือสมบัติผู้ดีแล้ว จำได้ว่าในอดีตมีการสอนสมบัติผู้ดีควบคู่กับหนังสือมารยาทเล่มน้อยตั้งแต่ระดับประถม มาถึงวันนี้ไม่ทราบว่ายังสอนกันอยู่หรือไม่ ถ้ายังสอนอยู่ก็จะเป็นสิ่งดี เพราะมีครูและพ่อแม่เป็นแบบอย่าง      "ทำตามที่สอนสังคมไทยก็จะดีขึ้น ขณะเดียวกัน ควรนำสาระของหนังสือเหล่านี้ใส่ไว้ในประมวลจริยธรรมของทุกหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน เพื่อแนะนำและเตือนสติให้ผู้ใหญ่ในสังคมประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก
             จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การสร้างสังคมคุณธรรม "ง่ายนิดเดียวถ้าผู้ใหญ่เป็นแบบ อย่างที่ดี ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมที่ร่วมกันกำหนด เพื่อให้สิ่งที่ดีงามของสังคมไทยซึมซับเข้าสู่เซลล์กระจกเงาของเด็ก และประพฤติปฏิบัติตาม อันจะเป็นการกล่อมเกลาทางสังคมจนเกิด "สังคมคุณธรรมที่สร้างประโยชน์ สุขให้แก่คนในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน





                                                                                      
                                                                            



















วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

"คอร์รัปชั่นเป็นภัยของสังคมเรามาโดยตลอด เรียกได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ทำลายความเจริญก้าวหน้าของประเทศเรา ดังนั้น จึงยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้การคอร์รัปชั่นเป็นวัฒนธรรมในสังคมของเรา"

            ข้อความนนี้เป็นพระราชหัตถเลขาสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ บิน อัล-ฮุสเซน พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอัชไมต์จอร์แดน ที่มีถึงประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตชุดแรก ซึ้งทรงแต่ตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2007 หลังจากปรับปรุงกฏหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 และให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้ ซึ้งสะท้อนให้เห็นถึงเจตรารมณ์อันแรงกล้าที่จะขจัดการทุจริตให้หมดไปจากประเทศของพระองค์ จึงถูกนำมาเป็นปรัชญาในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของจอร์แดนมาจนถึงทุกวันนี้
              สำหรับความเป็นมาของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 (United Nations Convention against Corruption 2003) เกิดจากผลการพิจารณาในที่ประชุมสหประชาชาติว่า ปัญหาและภัยคุกคามจากการทุจริตคอร์รับชั่นในสังคมได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของสังคม
               ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะของพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นในปัจจุบัน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะเครือข่ายข้ามพรมแดนประเทศ จึงควรสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและควบคุมปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น 
              ด้วยเหตุนี้ อนุสัญญาฉบับนี้จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าประสงค์ในการสร้างมาตรฐานกลางในการดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปรามพฤติกรรมที่เป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐภาคี และเพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการในการให้ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ 
             หลังจากมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ทุกประเทศเริ่มตื่นตัวกับการปรับปรุงกฎหมายเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฉบับนี้ เนื่องจากมีความตระหนักร่วมกันและแสวงหาความร่วมมือในการขจัดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจและสังคมของสังคมโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยคณะรัฐมนตรีได้แสดงความพยายามการเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาฉบับนี้โดยเร็ว ด้วยการมีมติเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ให้กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานหลักร่วมกันพิจารณาตรวจสอบพันธกรณีต่างๆ ตามอนุสัญญาฉบับนี้ และร่วมลงนามในข้อตกลงเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นวันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นโลก
               ต่อมาในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ กระทรวงยุติธรรมได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีว่า สมควรแก้ไขกฎหมาย ๓ ฉบับ คือ (๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... (๒) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด พ.ศ.... และ (๓) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่...) พ.ศ....พร้อมกับได้จัดทำร่างกฎหมายทั้งสามฉบับมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย
              ดังนั้น เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ นำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.๒๐๐๓ เสนอขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ และให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยระบุข้อสงวน (Reservation) ไว้ในสัตยาบันสารว่า จะให้สัตยาบันอย่างสมบูรณ์เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบอนุสัญญาฯ และกฎหมาย ๓ ฉบับนี้ ได้ใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ถือได้ว่า เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ อย่างเป็นรูปธรรม
               ปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ ๑๔ (14th International Anti-Corruption : IACC.)ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงเสนอต่อรัฐบาลให้มีการเร่งรัดกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับนี้ เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยสามารถลงนามในสัตยาบันได้อย่างสมบูรณ์ 
                คณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้เหตุผลว่า มีประเทศที่ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตแล้ว ๑๔๑ ประเทศ เหลือเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาฯ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียง ๓ ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศพม่า
และการที่ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมนานาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริต ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมมาแล้วเกือบ ๗ ปี แต่ยังไม่ลงสัตยาบันเป็นรัฐภาคี จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศในด้านการแสดงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาลไทยในการต่อต้านการทุจริตต่อประชาคมโลก
                 ดังนั้น ในคราวประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดประชุมนานาชาติดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ นายกรัฐมนตรีและประธาน ป.ป.ช. ในฐานะประธานในการประชุมร่วม ได้เห็นชอบในหลักการให้สำนักงาน ป.ป.ช. นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเร่งรัดกระบวนการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ โดยมิต้องรอการแก้ไขกฎหมายอนุวัติการทั้ง ๓ ฉบับให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
                 ในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาว่า ความ "สุ่มเสี่ยง” ของการไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ โดยเฉพาะในกรณีที่ประเทศไทยได้รับการร้องขอจากรัฐภาคีอื่น ให้ดำเนินการในส่วนที่ไม่มีกฎหมายรองรับนั้น มีน้อยกว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับในแง่ภาพลักษณ์และความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการทุจริตที่จะเพิ่มมากขึ้น
                  นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาบริบทของอนุสัญญาฯ แล้ว จะเห็นได้ว่า มีลักษณะยืดหยุ่นมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ เข้าเป็นภาคีได้โดยยังไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีได้สมบูรณ์ และไม่มีบทลงโทษในกรณีที่รัฐภาคีไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้ครบถ้วน มีเพียงกลไกควบคุมติดตามผลการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ เพื่อเสนอแนะและให้ความช่วยเหลือให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
                   ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ เรื่อง การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย โดยให้เร่งรัดกระบวนการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ โดยมิต้องรอให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม ๓ ฉบับ มีผลใช้บังคับก่อน แต่ไม่ได้ระบุว่า กฎหมายเหล่านี้จะผ่านรัฐสภาและมีผลใช้บังคับเมื่อใด
                   หากมองดูความ "สุ่มเสี่ยง” จากความกังวลของส่วนราชการต่างๆ ที่เป็นผู้ปฏิบัติ หน่วยแรก สำนักงานอัยการสูงสุด ได้เสนอข้อกฎหมายที่เป็นข้อขัดข้องในการดำเนินคดีและการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ๕ ประการ คือ (๑) การใช้บังคับทางกฎหมายกรณีสินบนต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ (๒) การติดตามทรัพย์สินคืน (๓) อายุความ (๔) การอายัด การยึด และการริบทรัพย์สิน และ (๕) มาตรการติดตามทรัพย์สินคืนโดยตรง พร้อมกันนั้น ได้แสดงความกังวลที่สอดคล้องกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า เมื่อประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว ประเทศภาคีต่างๆ สามารถมีคำร้องขอให้ประเทศไทยดำเนินการต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ ได้ทันที ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการให้ตามคำร้องขอของประเทศภาคีดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายภายในรองรับแล้ว อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ หรือละเมิดอนุสัญญาฯ ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้
                ส่วนกระทรวงต่างประเทศให้ความเห็นว่า รัฐบาลควรใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ และให้ความสำคัญระดับสูงแก่การเร่งรัดผลักดันการออกกฎหมายอนุวัติการตามอนุสัญญาฯ ทุกฉบับให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
                ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบันเรียบร้อยแล้ว โดยที่ยังไม่ได้ปรับปรุงกฎหมายอนุวัติการตามอนุสัญญาต่อต้านการทุจริตของสหประชาชาติ จึงเป็นเหตุที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะ "สุ่มเสี่ยง” ที่รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันเห็นว่า "ยอมรับได้” แต่ข้าราชการประจำซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติยังมีความกังวลอยู่ ดังนั้น เรื่องนี้คงต้องใช้มาตรการทางสังคม "ต่อต้าน” พรรคการเมืองที่ไม่ยอมประกาศว่า จะออกกฎหมายเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสมบูรณ์เมื่อใด ด้วยการไม่เลือกพรรคการเมืองเหล่านั้น เข้ามาเป็นผู้แทนของพวกเราในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 

ภาพ : prasong.com



       












วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความน่าเชื่อถือต่อนักการเมือง / WHITE LIE : โกหกสีขาว


ความน่าเชื่อถือต่อนักการเมือง

                                           
WHITE LIE  : โกหกสีขาว


    WHITE LIE คือ การโกหกเล็กน้อยที่ไม่มีอันตราย หรือมีผลประโยชน์ในระยะยาว การโกหกในลักษณ์นี้ จะช่วยให้เหตุการณ์ต่างๆดีขึ้น ซี่งเป็นการบอกความจริงบางส่วน ที่ไม่ใช่การหลอกลวง หรือปกปิดความลับเพื่อเลี่ยงคำถามที่ตอบไม่ได้ 
   


     คำว่า "WHITE LIE" ก็ยังขัดแย้งกับข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาที่กำหนดว่า "สมาชิกและกรรมาธิการ ต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอยางครบถ้วน ถูกต้องโดยไมบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้        ผู้อ่านหรือประชาชนเข้าใจผิด หรือเพื่อผลประโยชนส่วนตัวหรือบุคคลอื่นใด " ดังนั้นหากผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภา ก็ควรที่จะมีมาตราฐานทางจริยธรรม เพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองไทยในปัจจุบัน ที่ได้รับการประเมินจาก world economic forum ในเรื่องของ ความเชื่อถือไว้วางใจจากสาธารณะต่อการเมือง (Public Trust in Politicians) ซึ่งเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม (Ethical Standard) และให้คะแนนเพียง 2.2 จากค่าเฉลี่ยของโลก 3.6 ซึ่งเป็นลำดับที่ 107 จากการประเมิน 144 ประเทศ ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่โกหก เพื่อหวังผลในบางเรื่อง เพียงเท่านี้ ลำดับความน่าเชื่อถือของสาธารณะต่อนักการเมืองน่าจะดีขึ้น




เครดิต
ข้อมูล : http://www.moralcenter.or.th/
ภาพ : thaireddenmark.blogspot.com

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

คิดดี พูดดี ทำดี เป็นศรี เป็นพร สูงสุด - สมเด็จพระญาณสังวร


การทำบุญตักบาตร จะช่วยให้จิตใจผ่องใสและมีความสุข


อย่ากลัวคนที่ชอบพูดแรง แต่จงกลัวคนที่เสแสร้ง พูดี


ดูแลกันและกัน เป็นความดีที่เราควรพึงกระทำ


ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นไรได้ผลเช่นนั้น


วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

หากเราไม่ยึดถือสัจจะ แล้วจะสร้างอนาคตได้อย่างไร - ขงจื้อ


การแก้แค้น ยิ่งทำให้คนอื่นแค้น แต่การให้อภัย จะทำให้คนอื่นสำนึกได้




8 คุณธรรมพื้นฐานที่คนไทยควรมี

                    8 คุณธรรมพื้นฐานที่คนไทยควรมี

1. ความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจทำหน้าที่การงาน

2. รู้จักการเก็บออม ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย

3. ซื้อสัตย์ ไม่โกง ใม่ใช้เลห์กลต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม

4. มีระเบียบวินัย ทั้งตนเองและผู้อื่น

5. สุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

6. สะอาด ทั้งร่างกาย และจิตใจ

7. มีความสามัคคี ไม่เอารัดเอาเปรียบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

8. มีน้ำใจ จริงใจไม่เห็นแก่ตัว ทั้งตนเองและผู้อื่น