วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความน่าเชื่อถือต่อนักการเมือง / WHITE LIE : โกหกสีขาว


ความน่าเชื่อถือต่อนักการเมือง

                                           
WHITE LIE  : โกหกสีขาว


    WHITE LIE คือ การโกหกเล็กน้อยที่ไม่มีอันตราย หรือมีผลประโยชน์ในระยะยาว การโกหกในลักษณ์นี้ จะช่วยให้เหตุการณ์ต่างๆดีขึ้น ซี่งเป็นการบอกความจริงบางส่วน ที่ไม่ใช่การหลอกลวง หรือปกปิดความลับเพื่อเลี่ยงคำถามที่ตอบไม่ได้ 
   


     คำว่า "WHITE LIE" ก็ยังขัดแย้งกับข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาที่กำหนดว่า "สมาชิกและกรรมาธิการ ต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอยางครบถ้วน ถูกต้องโดยไมบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้        ผู้อ่านหรือประชาชนเข้าใจผิด หรือเพื่อผลประโยชนส่วนตัวหรือบุคคลอื่นใด " ดังนั้นหากผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภา ก็ควรที่จะมีมาตราฐานทางจริยธรรม เพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองไทยในปัจจุบัน ที่ได้รับการประเมินจาก world economic forum ในเรื่องของ ความเชื่อถือไว้วางใจจากสาธารณะต่อการเมือง (Public Trust in Politicians) ซึ่งเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม (Ethical Standard) และให้คะแนนเพียง 2.2 จากค่าเฉลี่ยของโลก 3.6 ซึ่งเป็นลำดับที่ 107 จากการประเมิน 144 ประเทศ ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่โกหก เพื่อหวังผลในบางเรื่อง เพียงเท่านี้ ลำดับความน่าเชื่อถือของสาธารณะต่อนักการเมืองน่าจะดีขึ้น




เครดิต
ข้อมูล : http://www.moralcenter.or.th/
ภาพ : thaireddenmark.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น